เมนู

อรรถกถาติกทุกปัฏฐาน


แม้ใน ติกทุกปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทำเทศนาด้วยอำนาจ
การยกเพียงปัญหาขึ้นเท่านั้นว่า กุสลํ เหตุํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ กุสโล เหตุ
ธมฺโม อุปฺปชฺชติ เหตุปจฺจยา.

ใน ทุกติกปัฏฐาน นั้น ทรงประกอบกุศลบทกับเหตุทุกะในหน
หลังแล้ว แต่งเทศนาโดยย่อในวาระทั้งปวง ด้วยอำนาจปัจจัยทั้งหมดฉันใด
ในติกทุกปัฏฐาน นี้ก็ฉันนั้น ทรงประกอบเหตุบทกับกุสลติกะ แล้วแต่ง
เทศนาโดยย่อในวาระทั้งปวง ด้วยอำนาจปัจจัยทั้งหมด. อนึ่ง ทรงประกอบ
นเหตุบท กับ กุสลติกะ ทำ กุสลติกเหตุทุกะ ให้จบลง เหมือนอย่าง
ทรงประกอบเหตุบทฉะนั้น.
ต่อจากนั้นทรงแสดง ติกทุกะ 21 มี เวทนาติกเหตุทุกะ เป็นต้น
โดยนัยเป็นต้นว่า สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตํ เหตุํ ธมฺมํ แล้วทรงประกอบ
เหตุทุกะกับติกะ 22 อย่างนี้แล้ว ทรงประกอบทุกะทั้งหมดด้วยอำนาจที่จะมีได้
มีสเหตุทุกะเป็นต้น มีสรณทุกะเป็นที่สุด กับติกะเหล่านั้นเองอีก แม้ในอธิการ
นี้บทใด ๆ ประกอบกันไม่ได้ บทนั้น ๆ ทรงปฏิเสธไว้ในบาลีนั่นแล. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาทุกะ 100 ผนวกเข้าในติกะ 22 แล้วแสดงปัฏฐาน
ชื่อว่า ติกทุกปัฏฐาน. แม้ใน ติกทุกปัฏฐาน นั้น ทรงย่อบาลีไว้ด้วยนัย
ใด ๆ นัยนั้น ๆ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยพิสดาร แล.
อรรถกถาติกทุกปัฏฐาน จบ